พระประวัติ
พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ประสูติเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2521 ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร กับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ (พระนามเดิม หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร) อดีตพระวรชายา และเป็นพระราชนัดดาพระองค์แรกของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
การศึกษา
ระดับอนุบาล ประถมและมัธยมต้น ณ โรงเรียนราชินี
ระดับมัธยมปลาย ณ โรงเรียนฮีธฟิลด์ ประเทศอังกฤษ และโรงเรียนจิตรลดา
ระดับปริญญาตรี ใน ปี พ.ศ. 2544 จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยทรงได้รับเกียรตินิยมอันดับสอง
ระดับปริญญาตรี สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยทรงได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง
เนติบัณฑิตไทย (น.บ.ท.) เนติบัณฑิตยสภา ปีการศึกษา 2547
Master of Laws (LL.M.), มหาวิทยาลัยคอร์เนล สหรัฐ
Doctor of the Science of Law (J.S.D.) มหาวิทยาลัยคอร์เนล สหรัฐ
พ.ศ. 2543 – ว่าที่ร้อยตรีหญิง , ร้อยตรีหญิง และ นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
พ.ศ. 2545 – ร้อยโทหญิง และนายทหารพิเศษ ประจำกองพันทหารม้าที่ 29 รักษาพระองค์
พ.ศ. 2551 – ร้อยเอกหญิง
พระเกียรติคุณ
รางวัลนักศึกษากฎหมายดีเด่นประจำปี 2544
วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2543 คณะกรรมการรางวัลสัญญาธรรมศักดิ์ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ถวายรางวัลนักศึกษากฎหมายดีเด่นประจำปี 2544 เป็นกรณีพิเศษแด่พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ด้วยทรงเป็นตัวอย่างในด้านการศึกษาและด้านกิจกรรมนักศึกษา โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่า ตลอดเวลาที่ทรงศึกษาในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้น พระองค์ทรงปฏิบัติเช่นนักศึกษาทั่วไปทั้งในด้านการศึกษา การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ
รางวัล Medal of Recognition หน่วยงาน UNODC (ยูเอ็นโอดีซี) สหประชาชาติ จากทรงมีบทบาทสำคัญในระดับนานาชาติหลายอย่างเริ่มตั้งแต่การจัดตั้งกองทุนพัชรกิติยาภา เพื่อการศึกษากฎหมาย การรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและสตรี โครงการกำลังใจ ในพระดำริฯ โครงการจัดทำมาตรฐานผู้ต้องขังหญิง หรือ ELFI (เอลฟี)การทรงงานด้านกระบวนการยุติธรรมเหล่านี้ จึงพิจารณาทูลเกล้าถวายรางวัลกียรติยศสูงสุดจากสหประชาชาติ
ทูตสันถวไมตรี (Goodwill Ambassador)
ดร.จีน เดอคูน่า ผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ กองทุนการพัฒนาเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า จากผลการดำเนินงาน โครงการกำลังใจ ในพระดำริ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา พระองค์ทรงประทานความช่วยเหลือแก่กลุ่มผู้ต้องขังสตรีและเด็กติดผู้ต้องขัง และทรงประทานความช่วยเหลือให้ผู้ต้องขังได้มีโอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดี ซึ่งหน่วยงาน UNIFEM รู้สึกสำนึกในพระกรุณาธิคุณ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ในพระกรณียกิจที่ทรงช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสกลุ่มหนึ่งในสังคมไทย โดยหน่วยงาน UNIFEM ขอพระราชทานกราบทูลเชิญพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงเป็นองค์ “ทูตสันถวไมตรี” (Goodwill Ambassador) ในการต่อต้านความรุนแรงต่อผู้หญิง
ปริญญากิตติมศักดิ์
พ.ศ. 2549 ปริญญากิตติมศักดิ์ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
พ.ศ. 2551 ปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
พ.ศ. 2552 ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาอาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. 2553 ปริญญารัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
พ.ศ. 2553 ปริญญานิติศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
พ.ศ. 2553 ปริญญานิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พ.ศ. 2553 ปริญญานิติศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์
พ.ศ. 2553 ปริญญาศิลปศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2554 ปริญญานิติศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคเหนือ 8 แห่ง คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
กำแพงเพชร, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม,
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
พ.ศ. 2554 ปริญญานิติศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พ.ศ. 2554 ปริญญานิติศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
FB (น้อมรําลึกในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้)
amazingkhao.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น