ลงราชกิจจาฯ รัฐบาลประกาศ เฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่5 "พระบิดาแห่งการปฏิรูปข้าวไทย" และรัชกาลที่9 "พระบิดาแห่งการวิจัยและพัฒนาข้าวไทย"
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ (๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๙) ประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เป็น “พระบิดาแห่งการปฏิรูปข้าวไทย” และเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ เป็น “พระบิดาแห่งการวิจัยและพัฒนาข้าวไทย”
โดยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ มีพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมแก่เกษตรกรและปวงชนชาวไทย ด้วยทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการปฏิรูปและพัฒนาแนวทางการผลิตข้าว และการวิจัยและพัฒนาข้าวไทยในห้วงแห่งรัชกาลตามลําดับ ทั้งนี้ ด้วยพระวิริยอุตสาหะอุทิศกําลังพระวรกายและกําลังพระปัญญา ทําให้ข้าวไทยได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์ การวิจัยและปรับปรุงพันธุ์ การจัดระบบชลประทาน ที่เหมาะสม การขนส่งและการพัฒนาระบบการผลิตโดยรวม ประเทศไทยจึงมีความมั่นคงทางด้านอาหาร และส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยรวมกล่าวคือ
๑. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีพระมหากรุณาธิคุณต่อการปฏิรูปข้าวไทย โดยทรงริเริ่มการปฏิรูปและพัฒนาแนวทางการผลิตข้าวใหม่ที่ส่งผลดี และเอื้อประโยชน์ต่อระบบการผลิตและการค้าข้าวของประเทศไทย มาแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ การเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารราชการโดยการยกเลิกกรมนาแล้วจัดตั้งกระทรวงเกษตราธิการเพื่อสนับสนุนด้านการผลิต การยกเลิกระบบศักดินา การคัดเลือกข้าวพันธุ์ดีมีคุณภาพจากต่างประเทศมาทดลองปลูก การจัดให้มีการประกวดพันธุ์ข้าว การขยายพื้นที่ปลูกข้าวด้วยการวางรากฐานระบบชลประทานสมัยใหม่ รวมทั้งนําเครื่องจักรไถนามาทดลองใช้ในการผลิต และเป็นแบบอย่างของการทําเกษตรสมัยใหม่แก่เกษตรกร นอกจากนี้ยังทรงสนับสนุนการค้าข้าวโดยริเริ่มระบบขนส่งทางรถไฟและกิจการไปรษณีย์โทรเลข เพื่อใช้ในการเดินทางและขนส่งลําเลียงผลผลิตข้าว การวางรากฐานงานวิจัยและพัฒนาข้าวไทยโดยการจัดตั้งโรงเรียนเกษตราธิการเพื่อผลิตบุคลากรเข้ารับราชการในกรม กองต่างๆ ของกระทรวงเกษตราธิการรวมทั้งได้พระราชทานทุนเล่าเรียนหลวงให้ไปศึกษาด้านการเกษตรสาขาต่าง ๆ ยังต่างประเทศ
๒. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ มีพระมหากรุณาธิคุณต่อการวิจัยและพัฒนาข้าวไทย โดยทรงพระราชดําริและทรงดําเนินการเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาข้าวทรงมุ่งมั่นทุ่มเทกําลังพระวรกายในการปรับใช้ผลการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหารเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม แก่เกษตรกรที่ประกอบอาชีพทํานา อาทิ การฟื้นฟูพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ก่อให้เกิดขวัญกําลังใจและความภูมิใจในอาชีพเกษตรกรรม
ทรงค้นคิดวิธีเกษตรทฤษฎีใหม่ การทํานาขั้นบันได โครงการฝนหลวงเพื่อบรรเทาปัญหาความแห้งแล้งการแก้ปัญหาดินเปรี้ยวในพื้นที่ต่างๆ ที่เรียกว่า “แกล้งดิน” การกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี สู่เกษตรกร
ที่เรียกว่า “พันธุ์ข้าวทรงปลูกพระราชทาน” ทรงพระราชทานที่ดินเพื่อการวิจัยและพัฒนาข้าวไร่
และธัญพืชเมืองหนาวทรงเป็นองค์อุปถัมภ์องค์กรวิจัยและพัฒนาข้าว ทั้งในประเทศและต่างประเทศให้แก่มูลนิธิข้าวไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และสถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ และพระราชทานทุนสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาข้าวให้แก่ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอดรัฐบาลสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณและน้อมรําลึกในพระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพ
ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อการปฏิรูปข้าวไทย และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ต่อการวิจัยและพัฒนาข้าวไทยเป็นอเนกประการ รวมทั้งเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ ทั้ง ๒ พระองค์ ในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี งานวิจัยข้าวไทย ในปี ๒๕๕๙ คณะรัฐมนตรีจึงได้ลงมติเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๙ เห็นชอบ
๑. ให้เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เป็น “พระบิดาแห่งการปฏิรูปข้าวไทย”
๒. ให้เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ เป็น “พระบิดาแห่งการวิจัยและพัฒนาข้าวไทย”
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
โดยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ มีพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมแก่เกษตรกรและปวงชนชาวไทย ด้วยทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการปฏิรูปและพัฒนาแนวทางการผลิตข้าว และการวิจัยและพัฒนาข้าวไทยในห้วงแห่งรัชกาลตามลําดับ ทั้งนี้ ด้วยพระวิริยอุตสาหะอุทิศกําลังพระวรกายและกําลังพระปัญญา ทําให้ข้าวไทยได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์ การวิจัยและปรับปรุงพันธุ์ การจัดระบบชลประทาน ที่เหมาะสม การขนส่งและการพัฒนาระบบการผลิตโดยรวม ประเทศไทยจึงมีความมั่นคงทางด้านอาหาร และส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยรวมกล่าวคือ
๑. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีพระมหากรุณาธิคุณต่อการปฏิรูปข้าวไทย โดยทรงริเริ่มการปฏิรูปและพัฒนาแนวทางการผลิตข้าวใหม่ที่ส่งผลดี และเอื้อประโยชน์ต่อระบบการผลิตและการค้าข้าวของประเทศไทย มาแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาทิ การเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารราชการโดยการยกเลิกกรมนาแล้วจัดตั้งกระทรวงเกษตราธิการเพื่อสนับสนุนด้านการผลิต การยกเลิกระบบศักดินา การคัดเลือกข้าวพันธุ์ดีมีคุณภาพจากต่างประเทศมาทดลองปลูก การจัดให้มีการประกวดพันธุ์ข้าว การขยายพื้นที่ปลูกข้าวด้วยการวางรากฐานระบบชลประทานสมัยใหม่ รวมทั้งนําเครื่องจักรไถนามาทดลองใช้ในการผลิต และเป็นแบบอย่างของการทําเกษตรสมัยใหม่แก่เกษตรกร นอกจากนี้ยังทรงสนับสนุนการค้าข้าวโดยริเริ่มระบบขนส่งทางรถไฟและกิจการไปรษณีย์โทรเลข เพื่อใช้ในการเดินทางและขนส่งลําเลียงผลผลิตข้าว การวางรากฐานงานวิจัยและพัฒนาข้าวไทยโดยการจัดตั้งโรงเรียนเกษตราธิการเพื่อผลิตบุคลากรเข้ารับราชการในกรม กองต่างๆ ของกระทรวงเกษตราธิการรวมทั้งได้พระราชทานทุนเล่าเรียนหลวงให้ไปศึกษาด้านการเกษตรสาขาต่าง ๆ ยังต่างประเทศ
๒. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ มีพระมหากรุณาธิคุณต่อการวิจัยและพัฒนาข้าวไทย โดยทรงพระราชดําริและทรงดําเนินการเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาข้าวทรงมุ่งมั่นทุ่มเทกําลังพระวรกายในการปรับใช้ผลการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหารเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม แก่เกษตรกรที่ประกอบอาชีพทํานา อาทิ การฟื้นฟูพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ก่อให้เกิดขวัญกําลังใจและความภูมิใจในอาชีพเกษตรกรรม
ทรงค้นคิดวิธีเกษตรทฤษฎีใหม่ การทํานาขั้นบันได โครงการฝนหลวงเพื่อบรรเทาปัญหาความแห้งแล้งการแก้ปัญหาดินเปรี้ยวในพื้นที่ต่างๆ ที่เรียกว่า “แกล้งดิน” การกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี สู่เกษตรกร
ที่เรียกว่า “พันธุ์ข้าวทรงปลูกพระราชทาน” ทรงพระราชทานที่ดินเพื่อการวิจัยและพัฒนาข้าวไร่
และธัญพืชเมืองหนาวทรงเป็นองค์อุปถัมภ์องค์กรวิจัยและพัฒนาข้าว ทั้งในประเทศและต่างประเทศให้แก่มูลนิธิข้าวไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และสถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ และพระราชทานทุนสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาข้าวให้แก่ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอดรัฐบาลสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณและน้อมรําลึกในพระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพ
ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อการปฏิรูปข้าวไทย และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ต่อการวิจัยและพัฒนาข้าวไทยเป็นอเนกประการ รวมทั้งเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ ทั้ง ๒ พระองค์ ในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี งานวิจัยข้าวไทย ในปี ๒๕๕๙ คณะรัฐมนตรีจึงได้ลงมติเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๕๙ เห็นชอบ
๑. ให้เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เป็น “พระบิดาแห่งการปฏิรูปข้าวไทย”
๒. ให้เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ เป็น “พระบิดาแห่งการวิจัยและพัฒนาข้าวไทย”
ประกาศ ณ วันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี